บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11
วันศุกร์ ที่ 24 มีนาคม 2560
(เวลา 08.30-12.30)

ความรู้ที่ได้รับ

ปรับพฤติกรรมและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กพิเศษ เพื่อให้เด็กพิเศษทำสิ่งเหล่านี้ได้ คือ
-เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
-ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
-เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)
การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรม
เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ

ปรับพฤติกรรมและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กพิเศษ เพื่อให้เด็กพิเศษทำสิ่งเหล่านี้ได้ คือ
-เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
-ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
-เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
1. เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม
การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
2. ทำให้เกิดผลดีในระยะยาว
3. เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทนการฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
4. แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล(Individualized Education Program; IEP)
5. โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง
โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน
การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
1. การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living
Training)
2.การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
3. การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)
การบำบัดทางเลือก
1. การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
2. ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy) (นิยมใช้มาก)
3. ดนตรีบำบัด (Music Therapy) (นิยมใช้มาก)
4. การฝังเข็ม (Acupuncture)
5. การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)
กิจกรรมือของฉัน


เป็นกิจกรรมที่ให้จินตนาการวาดภาพมือของตัวเอง โดยเก็บรายละเอียดให้มากที่สุด จากนั้นให้เพื่อนลองถ่ายว่าภาพนั้นเป็นมือของใคร
จากกิจกรรมนี้เสมือนการสังเกตพฤติกรรมเด็ก ถ้าเราเห็นพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกมาควรรีบจดบันทึกให้ละเอียด
การสื่อความหมายทดแทน
(Augmentative and Alternative Communication ; AAC)
-การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies)
-โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร
(Picture Exchange
Communication System; PECS) (ใช้มากที่สุด)
-เครื่องโอภา (Communication
Devices)
-โปรแกรมปราศรัย
-โปรแกรมปราศรัย
ตัวอย่าง โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (PECS)
PECS คือ บัตรภาพที่ให้เด็กเลือกนำมาต่อกันให้เป็นประโยค ตามความต้องการของเด็ก และยื่นให้กับคนที่ต้องการสื่อสาร
ส่วนใหญ่ ใช้กับเด็ก ออทิสติก
สีน้ำเงิน คือ อัลบัมบัตรภาพที่ให้เด็กเลือก
สีแดง คือ ประโยคที่เด็กต้องการสื่อสาร






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
ได้รับความรู้วิธีการปรับพฤติกรรมของเด็กพิเศษที่มีวิธีหลากหลาย และนำไปใช้ โดยอาจเลือกใช้ได้ถูกต้องในสถานการณ์จริง
ประเมินตนเอง
มาเรียนตรงเวลา จดบันทึกเพิ่มเติม
ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์ มีการถามอาจารย์เมื่อมีข้อสงสัย
ประเมินอาจารย์
อาจารย์เตรียมการสอนได้ดี ให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ บรรยายกาศในห้องสบาย สนุกสนาน
