บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8
วันศุกร์ ที่ 3 มีนาคม 2560
(เวลา 08.30-12.30)

ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์แจกสีเมจิกให้คนละ 1 กล่อง เป็นอุปกรณ์ให้ใช้สำหรับการเรียนการสอน


ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
(Children with Learning Disabilities)

เด็กจะตัวเลขผิดลำดับ ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ ไม่เข้าหลักเลขหน่วย สิบ ร้อย และแก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้
2. นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
3. คำนวณบวกลบคูณหารโดยการนับนิ้ว
4. จำสูตรคูณไม่ได้
5. เขียนเลขกลับกันเช่น13เป็น31
6. ทดไม่เป็นหรือยืมไม่เป็น
7. ตีโจทย์เลขไม่ออก
8. คำนวณเลขจากซ้ายไปขวาแทนที่จะทำจากขวาไปซ้าย
9. ไม่เข้าใจเรื่องเวลา
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
(Children with Learning Disabilities)

ความหมายของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
เราสามารถ เรียกย่อ ๆ ว่า L.D. (Learning
Disability) คือ เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน
เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย
สาเหตุ
1. ความผิดปกติของการทำงานของสมองที่ไม่สามารถถอดรหัสตัวอักษรออกมาได้
(เชื่อมโยงภาพ ตัวอักษรเข้ากับเสียงไม่ได้)
2. กรรมพันธุ์
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
ด้านการอ่าน (Reading Disorder)
เด็กจะอ่านหนังสือช้า ต้องสะกดทีละคำอ่านออกเสียงไม่ชัด ออกเสียงผิด หรืออาจข้ามคำที่อ่านไม่ได้ไปเลยไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่าน หรือจับใจความสำคัญไม่ได้
ลักษณะของเด็ก L.D. ด้านการอ่าน
1. อ่านช้า อ่านคำต่อคำ ต้องสะกดคำจึงจะอ่านได้
2. อ่านออกเสียงไม่ชัดเจน
3. เดาคำเวลาอ่าน
4. อ่านข้าม อ่านเพิ่มคำ อ่านผิดประโยคหรือผิดตำแหน่ง
5. อ่านโดยไม่เน้นคำ หรือเน้นข้อความบางตอน
6. ผันเสียงวรรณยุกต์ไม่ได้
7. ไม่รู้ความหมายของเรื่องที่อ่าน
8.เล่าเรื่องที่อ่านไม่ได้ จับใจความสำคัญไม่ได้
ตัวอย่างเช่น
ด้านการเขียน (Writing Disorder)
เด็กจะเขียนตัวหนังสือผิด สับสนเรื่องการม้วนหัวอักษร เช่น จาก ม เป็น น หรือจาก ภ เป็น ถ เป็นต้น อาจเขียนตามการออกเสียง เช่น ประเภท เขียนเป็น ประเพด เขียนสลับ เช่น สถิติ เขียนเป็น สติถิ
ลักษณะของเด็ก L.D. ด้านการเขียน
1. ลากเส้นวนๆ ไม่รู้ว่าจะม้วนหัวเข้าในหรือออกนอก ขีดวนๆ ซ้ำๆ
2. เรียงลำดับอักษรผิด เช่น สถิติ เป็น สติถิ
3. เขียนพยัญชนะหรือตัวเลขสลับกัน เช่น ม-น, ภ-ถ, ด-ค, พ-ผ, b-d, p-q, 6-9
4. เขียนพยัญชนะ ก-ฮ ไม่ได้ แต่บอกให้เขียนเป็นตัวๆได้
5. เขียนพยัญชนะ หรือ ตัวเลขกลับด้าน คล้ายมองจากกระจกเงา
6. เขียนคำตามตัวสะกด เช่น เกษตร เป็น กะเสด
7. จับดินสอหรือปากกาแน่นมาก
8. สะกดคำผิด โดยเฉพาะคำพ้องเสียง ตัวสะกดแม่เดียวกัน ตัวการันต์
9. เขียนหนังสือช้าเพราะกลัวสะกดผิด
10. เขียนไม่ตรงบรรทัด ขนาดตัวอักษรไม่เท่ากัน ไม่เว้นขอบ ไม่เว้นช่องไฟ
11.ลบบ่อยๆ เขียนทับคำเดิมหลายครั้ง
ตัวอย่างเช่น

ด้านการคิดคำนวณ (Mathematic Disorder)
เด็กจะตัวเลขผิดลำดับ ไม่เข้าใจเรื่องการทดเลขหรือการยืมเลขเวลาทำการบวกหรือลบ ไม่เข้าหลักเลขหน่วย สิบ ร้อย และแก้โจทย์ปัญหาเลขไม่ได้
ลักษณะของเด็ก L.D. ด้านการคำนวณ
1.ไม่เข้าใจค่าของตัวเลขเช่นหลักหน่วยสิบร้อยพันหมื่นเป็นเท่าใด
2. นับเลขไปข้างหน้าหรือถอยหลังไม่ได้
3. คำนวณบวกลบคูณหารโดยการนับนิ้ว
4. จำสูตรคูณไม่ได้
5. เขียนเลขกลับกันเช่น13เป็น31
6. ทดไม่เป็นหรือยืมไม่เป็น
7. ตีโจทย์เลขไม่ออก
8. คำนวณเลขจากซ้ายไปขวาแทนที่จะทำจากขวาไปซ้าย
9. ไม่เข้าใจเรื่องเวลา
หลายๆ ด้านร่วมกัน
ลักษณะอาการที่มักเกิดร่วมกับ L.D.
1. แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
2. มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
3. เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
4. งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
5. การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
6. สมาธิไม่ดี (เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
7. เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
8. ทำงานช้า
9. การวางแผนงานและจัดระบบไม่ดี
10. ฟังคำสั่งสับสน
11. คิดแบบนามธรรมหรือคิดแก้ปัญหาไม่ค่อยดี
12. ความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอน
13. ความจำระยะสั้น/ยาวไม่ดี
14. ถนัดซ้ายหรือถนัดทั้งซ้ายและขวา
15. ทำงานสับสนไม่เป็นขั้นตอน
1. แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
2. มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
3. เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
4. งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
5. การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
6. สมาธิไม่ดี (เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
7. เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
8. ทำงานช้า
9. การวางแผนงานและจัดระบบไม่ดี
10. ฟังคำสั่งสับสน
11. คิดแบบนามธรรมหรือคิดแก้ปัญหาไม่ค่อยดี
12. ความคิดสับสนไม่เป็นขั้นตอน
13. ความจำระยะสั้น/ยาวไม่ดี
14. ถนัดซ้ายหรือถนัดทั้งซ้ายและขวา
15. ทำงานสับสนไม่เป็นขั้นตอน
ออทิสติก (Autistic)
เด็กออทิสติก หรือ ออทิซึ่ม (Autism) จะเป็นเด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ไม่สามารถเข้าใจคำพูด
ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม แต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง และอาการจะติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
ลักษณะที่เห็นได้ชัดของเด็กออกทิสติก คือ "ไม่สบตา ไม่พาที ไม่ชี้นิ้ว"
ทักษะที่เด็กออทิสติกขาดไปคือ
•ทักษะภาษา
•ทักษะทางสังคม
•ทักษะการเคลื่อนไหว
•ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง
ขนาดและพื้นที่
ลักษณะกราฟเปรียบเทียบ
ลักษณะของเด็กออทิสติก
1. อยู่ในโลกของตนเอง
2. ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
3. ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
4. ไม่ยอมพูด
5. เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ

เกณฑ์การวินิจฉัยออทิสติก องค์การอนามัยโลกและสมาคมจิตแพทย์อเมริกา
ความผิดปกติของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างน้อย
2 ข้อ
–ไม่สามารถใช้ภาษาท่าทางสื่อสารทางสังคมกับบุคคลอื่น
–ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลให้เหมาะสมตามวัย
–ขาดความสามารถในการแสวงหาการมีกิจกรรม ความสนใจ และความสนุก
สนานร่วมกับผู้อื่น
–ขาดทักษะการสื่อสารทางสังคมและทางอารมณ์กับบุคคลอื่น
ความผิดปกติด้านการสื่อสารอย่างน้อย
1 ข้อ
–มีความล่าช้าหรือไม่มีการพัฒนาในด้านภาษาพูด
–ในรายที่สามารถพูดได้แล้วแต่ไม่สามารถที่จะเริ่มต้นบทสนทนาหรือโต้ตอบบทสนทนากับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
–พูดซ้ำๆ หรือมีรูปแบบจำกัดในการใช้ภาษา
เพื่อสื่อสารหรือส่งเสียงไม่เป็นภาษาอย่างไม่เหมาะสม
–ไม่สามารถเล่นสมมุติหรือเล่นลอกตามจินตนาการได้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ
มีพฤติกรรม
ความสนใจ และกิจกรรมที่ซ้ำๆ และจำกัด อย่างน้อย 1 ข้อ
–มีความสนใจที่ซ้ำๆ อย่างผิดปกติ เช่น
•นั่งเคาะโต๊ะ
หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
•นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
•วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
•ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม
–มีกิจวัตรประจำวันหรือกฎเกณฑ์ที่ต้องทำโดยไม่สามารถยืดหยุ่นได้
ถึงแม้ว่ากิจวัตรหรือกฎเกณฑ์นั้นจะไม่มีประโยชน์
–มีการเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำ
–สนใจเพียงบางส่วนของวัตถุ
พบความผิดปกติอย่างน้อย
1 ด้าน (ก่อนอายุ 3 ขวบ)
–ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
–การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย
–การเล่นสมมติหรือการเล่นตามจินตนาการ
ออทิสติกเทียม
เกิดขึ้นจากสาเหตุคือ พ่อแม่ ปล่อยให้เป็นพี่เลี้ยงดูแลหรืออยู่กับผู้สูงอายุ ปล่อยให้ลูกอยู่กับไอแพดดูการ์ตูนในทีวี
Autistic
Savants หรือ ออทิสติกอัจฉริยะ
1. กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (visual thinker)
จะใช้การการคิดแบบอุปนัย (bottom up thinking)
2. กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ
(music, math and
memory thinker)
จะใช้การคิดแบบนิรนัย (top down thinking)
ตัวอย่าง ออทิสติกอัจฮริยะ
stephen wiltshire สตีเฟ่น วิลท์ไชร์ ได้ฉายา อัจฉริยะด้านความจำ
เขาเป็นคนที่จดจำรายละเอียดที่เห็นได้อย่างดีเยี่ยม สามารถวาดเมืองทั้งเมืองทั้งที่เพิ่งเคยเห็นแค่ครั้งเดียวได้โดยไม่ต้องกลับไปดูซ้ำ
! นอกจากความสามารถด้านศิลปะแล้ว
เค้ายังมี perfect pitch ติดตัวมาแต่กำเนิด สามารถแยกเสียงโน้ตที่ซับซ้อนได้ขนาดที่ฟังเพลงครั้งเดียวก็ร้องตามได้ตรง
ทุกโน้ต
คิม พีค (Kim Peek) อัจฉริยะด้านความจำ ได้ฉายา คิมพิวเตอร์
คิม พีค มีความสามารถพิเศษในเรื่องของความจำ ตั้งแต่อายุได้ขวบครึ่ง ใครอ่านหนังสืออะไรให้ฟัง เขาก็จะจำได้หมด ตอน 3 ขวบหัดอ่านหนังสือออกได้ด้วยตัวเอง และจากนั้นมา เขาก็ไล่อ่านไล่ท่องมาเรื่อยๆ จนทุกวันนี้ สามารถจดจำข้อความในหนังสือทุกหน้าทุกบรรทัดได้อย่างขึ้นใจรวมทั้งหมดแล้วประมาณ 12,000 เล่ม!
คิมใช้เวลาประมาณ 8-10 วินาทีในการอ่านหนังสือ 1 หน้า และสามารถอ่านได้ 2 หน้าพร้อมๆ กันทีเดียว โดยใช้ตาซ้ายอ่านหน้าซ้าย และตาขวาอ่านหน้าขวา ข้อมูลทุกอย่างที่เคยอ่านผ่านตามา สมองเขาจะสามารถเซฟเก็บลงฮาร์ดดิสก์ไว้ได้หมด ทุกความรู้ ทุกรายละเอียด ถ้าคุณไปถามอะไรเขา เขาจะสามารถเสริชจากความจำของตัวเองมาตอบได้อย่างรวดเร็ว
อลอนโซ่ เคลมอนส์ (Alonzo Clemons) อัจฉริยะด้านศิลปะ การปั้น
เขาไม่ค่อยพูด พูดไม่ค่อยได้ แต่มือจะปั้นอยู่ตลอดเวลา อลอนโซ่ชอบปั้นแต่รูปสัตว์เป็นชีวิตจิตใจ เขาสามารถชายตามองตัวอะไรก็ได้ แค่ปราดเดียว (หรือดูรูปถ่ายของมันก็ได้) แล้วจำมาปั้นเป็นรูป 3 มิติออกมาได้อย่างเหมือนจริงไม่มีที่ติ ทั้งสัดส่วน สรีระ ทั้งกล้ามเนื้อกายวิภาคถูกต้องหมดทุกอย่าง
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
รู้จักเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้และเด็กออทิสติกว่าเป็นอย่างไร ลักษณะอย่างไร มีแนวทางช่วยเหลือเขาได้อย่างไร สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการสังเกตเด็กได้ในเวลาเราสอน เพื่อหาวิธีการช่วยส่งเสริมได้ถูกต้อง
ประเมินตนเอง
มาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย
ประเมินเพื่อน
เพื่อนมีปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์ ร่วมกิจกรรมได้ดี มีการโต้ตอบและข้อซักถาม
ประเมินอาจารย์
อาจารย์มีการเตรียมการสอน บรรยากาศในห้องไม่น่าเบื่อ มีวีดีโอมาให้ดูและสอนเข้าใจง่าย

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น